วันพฤหัสบดีที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2551

ประวัติความเป็นมาและความเชื่อ

ภาพจากเว็บไซด์ http://www.th.wikipedia.org


ศาลเจ้าพ่อเสือ ตั้งอยู่เลขที่ 468 ถนนตะนาว ในบบริเวณที่ตัดกับถนนอุนากรรณ ใกล้เสาชิงช้า เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร บนเนื้อที่ 2 ไร่เศษ เป็นศาลเจ้าชาวจีนแต้จิ๋ว (สายลัทธิเต๋า) ที่เก่าแก่และมีชื่อเสียงมากที่สุดแห่งหนึ่งในเมืองไทย คนจีนเรียกกันว่า"ตั่วเล่าเอี้ย" เป็นศาลเจ้าที่ประดิษฐาน เฮี้ยงเทียนเซียงตี่ (เหี่ยงเทียงเสี่ยงตี่ ก็เรียก), รูปเจ้าพ่อเสือ, เจ้าพ่อกวนอู และ เจ้าแม่ทับทิม เป็นที่เคารพนับถือของทั้งชาวไทยและจีนเป็นอย่างมาก

ศาลเจ้าพ่อเสือ มีประวัติความเป็นมาตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ปีที่ก่อสร้างตรงกับ พ.ศ. 2377 มีความเกี่ยวเนื่องกับวัดมหรรณพาราม เดิมตั้งอยู่ริมถนนบำรุงเมือง ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงโปรดให้ขยายถนนบำรุงเมือง ได้โปรดให้พระยาโชฎีราชเศรษฐีย้ายศาลมาไว้ที่ทางสามแพร่งถนนตะนาว จนถึงปัจจุบัน

ลักษณะอาคารสร้างตามรูปแบบศาลเจ้าที่นิยมทางภาคใต้ของจีน เทพเจ้าประจำศาลคือ “เสียนเทียนซั่งตี้” หรือที่คนไทยเรียกว่า “เจ้าพ่อเสือ” นั่นเอง เรื่องราวตำนานของเจ้าพ่อเสือที่ชาวบ้านย่านนี้เล่าขานนั้น เชื่อมโยงกับหลวงพ่อพระร่วง วัดมหรรณพารา (วัดมหรรณพ์) ด้วยสะท้อนถึงความสัมพันธ์ระหว่างพี่น้องชาวไทยและชาวจีนในละแวกนี้ที่มีมาช้านาน

"เสือ" เป็นสัตว์ที่คนจีนเชื่อว่ามีฤทธิ์เดชมาก สามารถปราบผีหรือสิ่งเลวร้ายของชีวิตได้ หากบ้านใครตั้งอยู่บริเวณทางสามแพร่ง หรือจุดที่ถือกันว่าจะมีวิญญาณเลวร้ายพุ่งเข้าบ้าน จะนิยมเอาเสือคาบดาบไปแขวนไว้ที่หน้าบ้านเพื่อขจัดสิ่งเลวร้าย เคราะห์ร้ายที่จะมากล้ำกรายชีวิตของเราให้พ้นไปหรือว่าบรรเทาลงได้

เชื่อกันว่าทุก ๆ ปีขาลที่เวียนมาถึงจะเป็นปีที่มีธุรกิจล้มละลายกันมากเป็นประวัติการณ์ บริษัทห้างร้านต่าง ๆ พากันปิดกิจการกันมาก ภาระการค้ามีอุปสรรคมาก อย่างไรก็ตามคัมภีร์โหราศาสตร์จีน (โป๊ยยี่สี่เถี่ยวเก็ง)บันทึกไว้ว่า "ในปีขาล (เสือ) นี้บุคคลที่อยู่ภายใต้ความคุ้มครองของเสือแล้ว กลับจะเป็นปีที่มีความก้าวหน้าอย่างมากมายในขณะที่คนอื่นต้องพบกับชะตากรรมที่ถูกผลักดันให้ตกต่ำ ไม่ได้รับการเอาใจใส่ในช่วงเวลาอันวุ่นวายของปีเสือนี้" ดังนั้นผู้เขียน (พ. สุวรรณ) ขอแนะนำว่า ท่านผู้อ่านที่มีเกณฑ์ชะตาไม่ค่อยดีหรือผู้อ่านที่ต้องการความมั่นใจ ท่านควรหาโอกาสไปไหว้เจ้าที่ ศาลเจ้าพ่อเสือ (เสาชิงช้า) ซึ่งชาวจีนเรียกกันว่า "ตั่วเล่าเอี้ย" ให้ได้ในปีขาลหรือทุก ๆ ปีขาลที่เวียนมาถึง เป็นการสะเดาะเคราะห์เพื่อเสริมมงคลให้แก่ตัวเองและครอบครัว เมื่อท่านได้ทำตามที่ว่าท่านลองสังเกตุดูท่านจะรู้สึกว่า ชีวิตของท่านจะดีขึ้นอย่างน่าอัศจรรย์จริงๆ (ซึ่งผู้เขียนเคยประสบกับตนเองมาแล้ว) ปัญหาและอุปสรรคต่างๆที่เคยขัดขวางท่านกลับคลี่คลายและลดลงไปอย่างไม่น่าเชื่อ

ครอบครัวชาวจีนที่ยังไม่มีลูก ต้องการอยากมีมากๆก็จะไปขอลูกที่ "ตั่วเล่าเอี๊ย" หรือศาลเจ้าพ่อเสือในคืนวันที่ 15 ค่ำ เดือน 1 (ตามปฏิทินจีน) ชาวจีนเรียกพิธีนี้ว่า "จับโหงวแม้" (แปลว่า "คืนวันที่ ๑๕ ค่ำ") โดยนำ "ทึ้งถะ" หรือเจดีย์ที่ทำด้วยน้ำตาลไปไหว้ คนที่อยากมีลูกแล้วไปขอ ท่านแนะนำว่า ต้องให้ฝ่ายชายไปไหว้แล้วขโมย "ทึ้งไซ" หรือสิงโตที่ทำด้วยน้ำตาลกลับมาบูชาที่บ้าน เมื่อได้ลูกสมปรารถนาแล้วปีหน้าหรือปีถัดไปต้องเอาสิงโตที่ทำด้วยน้ำตาลไปไหว้ใช้คืนสองเท่า หรือสองตัวนั่นเอง เผื่อให้ครอบครัวอื่นที่ยังไม่มีลูกจะได้ไปขโมยบ้าง

ปัจจุบันเพื่อความสะดวก ทางคณะกรรมการศาลเจ้าพ่อเสือ (เสาชิงช้า) ได้อำนวยความสะดวก โดยตั้งจุดขายสิงโตน้ำตาล และเจดีย์น้ำตาล เพื่อลดความแออัดและความชุลมุนวุ่นวาย

ทุกวันนี้มีคนไปไหว้กันมาก เดินแทบไม่ได้แถมยังถูกรมด้วยควันธูปที่คลุ้งกระจายจนแสบตา หลายคนน้ำตานองหน้ากว่าจะเข้าถึงองค์เจ้าพ่อเพื่อให้อาแป๊ะหรือเจ้าหน้าที่ของศาลเจ้าเอาเนื้อหมูสด (ท่านสามารถหาซื้อได้จากแม่ค้ารอบๆศาลเจ้า) ที่ถวายถูที่ปากท่านแล้วพูดว่า "เฮงๆ" นั่นแหละ…ขอให้เฮง หรือโชคดี สมปรารถนาตลอดปีและตลอดไป ที่สำคัญอย่าลืมเช่า "ฮู้" หรือยันต์เจ้าพ่อเสือที่ศาลเจ้ามาติดไว้ที่บ้านหรือสำนักงาน เพื่อความเป็นสิริมงคลอยู่รอดปลอดภัย ส่วนท่านที่เกิดปีขาล ปีมะเส็ง ปีวอกและปีกุน ขอแนะนำว่าในทุกๆปีขาลที่เวียนมาถึงควรไปไหว้เจ้าที่ศาลเจ้าพ่อเสือให้ได้ โดยเฉพาะคนปีขาลและปีวอกต้องขอเน้นเป็นพิเศษ เพราะเป็นปีที่มีอิทธิพลท่านมากจริงๆ และเพื่อความมั่นใจและได้ผลอย่างแน่นอน ควรไหว้ "ไช้ซิ้งเอี๊ย" (เทพเจ้าแห่งโชคลาภหรือเทพเจ้าเงินตรา) ที่ศาลเจ้าพ่อเสือ ชาวจีนที่มีอายุมากๆ ตลอดจนซินแสทั้งหลายต่างร่ำรือถึงความศักสิทธิ์ว่า ไช้ซิ้งเอี๊ย องค์ที่อยู่ในศาลเจ้าพ่อเสือ (เสาชิงช้า) ใครดวงไม่ดีแต่อยากรุ่งหรือใครที่มีปัญหาเรื่องเงินทอง ท่านจะช่วยดังนั้นชาวจีนจึงนิยมไปไหว้กันมาก

ภาพจากเว็บไซด์ http://www.nairobroo.com


ปัจจุบันนิยมไหว้ศาลเจ้าพ่อเสือเพื่อ "เสริมอำนาจบารมี" โดยใช้ ธูป 18 ดอก และเทียนแดงคู่ เป็นเครื่องสักการะ วิธีสักการะ ไหว้ด้วยธูป 18 ดอก ปัก 6 กระถาง เทียนแดง 1 คู่ และพวงมาลัย 1 พวง ส่วนการสักการะเจ้าพ่อเสือ จะต้องซื้อเครื่องเซ่นซึ่งประกอบด้วย หมูสามชั้น ไข่สด และข้าวเหนียวหวาน อีกทั้งผู้คนก็นิยมมาเสี่ยงเซียมซีในศาลเจ้านี้ที่ขึ้นชื่อว่าทายแม่นเหมือนตาเห็นอีกด้วย

นอกจากจะเป็นที่เลื่องชื่อเรื่องความศักดิ์สิทธิ์แล้ว ศาลเจ้าแห่งนี้ยังมีความงามด้านสถาปัตยกรรม และ การตกแต่งภายในอีกด้วย โดยเฉพาะโบราณวัตถุที่ประดับอยู่ภายในศาลเจ้านั้น บางชิ้นมีอายุกว่า 100 ปีเลยทีเดียว

เวลาที่เหมาะสมสำหรับการเดินทางไปสักการะคือ 06.00 - 17.00 น. ทุกวัน ควรแต่งกายสุภาพ และเพื่อความสะดวก ควรเดินทางด้วยรถประจำทาง หรือรถแท็กซี่ เนื่องจากสถานที่จอดรถมีจำนวนจำกัด

อ้างอิงจาก:
1. http://www.geocities.com/sanjaoporsua - ข้อมูลจาก หนังสือไหว้เจ้าเสริมดวงชะตา (โดย พ.สุวรรณ - สำนักพิมพ์บ้านมงคล)
2. http://www.th.wikipedia.org/
3. http://www.nairobroo.com/
4. http://travel.sanook.com/ - ข้อมูลโดย สิริลักษณ์ จินตนะดิลกกุล
5. http://pirun.ku.ac.th/

ตำนานแบบไทย

ภาพจากเว็บไซต์ http://www.nairobroo.com


จะกล่าวถึงการสร้างวัดมหรรณพาราม (วัดมหรรณพ์) เสียก่อน เพราะเกี่ยวโยงกับประวัติเจ้าพ่อเสือ กล่าวคือในอดีตกาลประมาณ 150 ปี ต้นสมัยแผ่นดินพระนั่งเกล้าฯ รัชกาลที่ 3 ผู้สร้างวัดมหรรณพ์คือ กรมหมื่นอุดมรัตนราษี (พระองค์เจ้าอรรณพพระราชโอรสในสมเด็จพระนั่งเกล้า) โดยสถานที่สร้างวัดในขณะนั้นยังเป็นป่า บริเวณหลังวัดมหรรณพ์ ยังมีสัตว์อาศัยอยู่คือ เสือปลา เสือบอง อีเห็น กระต่าย งูเหลือม งูหลาม เป็นต้น

ในบริเวณนั้นมีหมู่บ้านเล็ก ๆ อยู่แห่งหนึ่ง โดยมากผู้คนมีฐานะยากจน ยายผ่องกับนายสอนลูกชาย อยู่ด้วยกันเพียงสองคนแม่ลูกเท่านั้น นายสอนเป็นลูกที่มีความกตัญญูต่อแม่บังเกิดเกล้ายิ่งนัก สองชีวิตต้องทนอยู่กับความยากลำบาก ต้องผจญชีวิตกับอาชีพที่ไม่เป็นแก่นสารแบบหาเช้ากินค่ำ นายสอนลูกชายยายผ่องเป็นไข้มา 6-7 วัน เมื่ออาการค่อนข้างทุเลาบ้างแล้ว ก็เตรียมตัวจะเข้าป่าเพื่อหาหน่อไม้เก็บผักหักฟืนตามเคย ถึงตัวจะลำบากยากเข็ญอย่างไรก็ไม่ท้อถอย ตนก็เอาหาบขึ้นบ่าพร้อมทั้งมีดกับเสียม ออกจากเรือนเข้าป่าทันที

ชะตาร้ายกำลังเดินตามหลังนายสอนมาทุกย่างก้าว สถานที่เคยมีผักมีหน่อไม้มีฟืนก็ไม่มีเลย คิดว่าพรุ่งนี้จะต้องตัดไม้เผาถ่าน เมื่อเดินกลับนายสอนมองเห็นกวางตายอยู่ตัวหนึ่ง เพิ่งตายใหม่ๆยังไม่เน่า แกคิดด้วยเชาว์ไวว่ากำลังตกอยู่ในระหว่างอันตรายแล้ว เพราะกวางนี้ถูกเสือกัดตายกินเนื้อยังไม่หมด มันต้องพักอยู่ในบริเวณใกล้ๆเจ้ากวางตัวนี้แน่ แต่อยากจะได้เนื้อเอาไปฝากแม่สักก้อนหนึ่ง เมื่อคิดดังนั้นแล้วก็ตัดความกลัวออกไป และตรงเข้าไปเอามีดเฉือนเนื้อโคนขากวางไปสองก้อน เอาใบบอนห่อแล้วเอาผ้าขาวม้าห่ออีกชั้น แล้วเอาคาดสะเอว รีบฉวยหาบขึ้นบ่าเดินเลาะไปตามริมหนองเพื่อเก็บสายบัว ทันใดนั้นนายสอนต้องสะดุ้งสุดตัว เพราะเจอเข้ากับเสือใหญ่อย่างจัง เมื่อมันเห็นนายสอนยืนอยู่ใกล้หนองน้ำ นายสอนเห็นดังนั้น ก็ชักมีดเหน็บปลายแหลมออกเตรียมป้องกันตัว จะหนีก็ไม่พ้น จำใจต้องสู้แม้จะตายก็ไม่เสียดายชีวิต เป็นห่วงแต่แม่คนเดียวเท่านั้น เจ้าเสือเห็นได้จังหวะก็เผ่นเข้ากัดทันที นายสอนก็เอี้ยวตัวเอามีดแทงถูกที่ต้นคอ เจ้าเสือยิ่งโกรธจัดเพราะถูกแทงจนเลือดสาด มันเผ่นเข้าใส่อย่างบ้าเลือด นายสอนหลบไม่ทัน จึงจ้วงแทงไปตรงหน้าเสือ ถูกที่แสกหน้าอย่างจัง เจ้าเสือถูกแทงถึงสองแผลแล้ว มันก็แผดเสียงลั่นด้วยโทสะของมัน แล้วก็เผ่นเข้าใส่นายสอนอย่างรวดเร็ว ไฉนเลยจะทานกำลังของมันได้ นายสอนจึงเสียทีถูกมันฟัดอย่างเต็มที่ แล้วก็ฟัดเหวี่ยงเต็มที่ จนแขนขาดติดอยู่ที่ปากของมัน นายสอนเห็นเช่นนั้นก็ลุกวิ่งโดดลงไปในหนองแล้วดำน้ำหนีไปอยู่กลางหนอง เจ้าเสือก็ออกวิ่งตามไป เมื่อมันเห็นว่าจะทำอะไรนายสอนไม่ได้ มันก็กลับเอาแขนของนายสอนกินจนเกลี้ยง แล้วก็บ่ายหน้าเดินตรงไปที่ซากกวางของมันอีกครั้ง เมื่อนายสอนเห็นเสือไปนานแล้ว แน่ใจว่ามันคงไม่กลับมาอีก จึงขึ้นจากหนองน้ำหาทางลัดรีบกลับบ้าน ประมาณสองยามก็ถึงบ้านแต่อาการหนักมาก นายสอนนอนสลบอยู่แถวๆรั้วบ้านของตนเอง

ยายแผ้วเป็นน้องของยายผ่องเป็นห่วงพี่สาวของตน เพราะยายผ่องร้องไห้ไม่หยุดเป็นลมหลายครั้งเพราะเป็นห่วงลูก วันรุ่งขึ้นเช้ามืด ยายแผ้วเตรียมต้มข้าวต้มเสร็จแล้วก็ออกจากบ้านเอาไปให้พี่สาวของตนกิน เมื่อจวนจะถึงประตูรั้ว เห็นคนนอนตะแคง มีเลือดเกรอะกรังไปทั้งตัวก้มลงมองดูหน้า จำได้ว่าเป็นนายสอนหลานของแก จึงรีบเข้ารั้วขึ้นเรือน ตะโกนบอกยายผ่องว่า สอนกลับมาแล้วแต่นอนสลบอยู่นอกรั้ว ยายผ่องได้ยินว่าลูกกลับมาแล้ว แกก็ลุกจากที่นอนรีบเดินไปหาลูกทันที ยายแผ้วก็เรียกชาวบ้านให้ช่วยกันหามนายสอนขึ้นบนเรือนแล้วให้หลานชายไปตามหมอคล้ายมาบำบัดปัดรังควานโดยเร็ว ประมาณครึ่งชั่วโมงนายสอนก็ฟื้น เบื้องต้นนายสอนก็แก้ผ้าขาวม้าออกจากสะเอวแล้วส่งให้ยายผ่อง บอกให้แม่เอาเนื้อกวางไป แม่เฒ่าถามว่าได้เนื้อมาจากไหน นายสอนก็เล่าเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับตนจนละเอียด อีกสองชั่วโมงต่อมานายสอนก็ถึงแก่ความตาย

ยายผ่องเป็นหญิงชราอนาถาไร้ที่พึ่ง แกก็ต้องดิ้นรนหาทางช่วยชีวิตตามแบบและสติปัญญาของแก คุณยายได้ไปที่ว่าการอำเภอ ขอร้องให้นายอำเภอจับเสือมาลงโทษให้ได้ นายอำเภอแสงผู้พิทักษ์มวลชนได้ยินยายผ่องขอให้จับเสือมาทำโทษแทนลูกของแกก็นึกแปลกใจ ตั้งแต่เป็นนายอำเภอมาหลายปี ยังไม่เจอกับคดีเช่นนี้ เมื่อนายอำเภอเห็นว่าแกพูดถูกและสงสารแกมาก จึงรับปากว่าจะจับเสือมาทำโทษให้ตามความประสงค์ แล้วให้คนไปตามปลัดโต ซึ่งมีความรู้ความสามารถและปฏิบัติหน้าที่ดีที่สุดมาหาทันที เมื่อปลัดโตไปหานายอำเภอก็แจ้งเรื่องให้ทราบ ปลัดโตก็รับปากทันที

สามวันผ่านไป ขบวนล่าเสือของนายปลัดโตออกตะลุยป่าหลายทิศหลายทาง ถึงจะมีคนมากก็ตาม เมื่อปลัดโตประกาศว่าจะล่าเสือ ก็ขันอาสาเข้าร่วมขบวนตะลุยพยัคฆ์ร้ายกันมาก เริ่มวันที่สี่ก็ยังไม่ได้วี่แววหรือร่องรอยเลย เป็นอันว่าปลัดโตต้องประชุมพรรคพวกกันอีกครั้ง ตกลงที่ประชุมให้ยกขบวนกลับเสียก่อน เมื่อพรรคพวกพากันกลับแล้ว ปลัดโตเท่านั้นที่ยังไม่ยอมกลับบ้าน ได้แวะไปนมัสการหลวงพ่อบุญฤทธิ์ในพระอุโบสถ และนมัสการหลวงพ่อพระร่วงในพระวิหารของวัดมหรรณพาราม อ้อนวอนหลวงพ่อทั้งสองพระองค์ ขอให้ทรงช่วยดลบันดาลจับเสือร้ายให้ได้ การจับก็ขอรับรองว่าจะไม่ฆ่าเสือเป็นอันขาด ถึงแม้เสือจะทำร้ายก็ตาม ขอให้หลวงพ่อพระร่วงทรงช่วยกล่อมใจเสือร้าย ให้กลายเป็นเสือเลี้ยงให้ได้ ถ้าจับลูกเสือไม่ได้คราวนี้ลูกต้องลาออกจากตำแหน่งราชการทันที

เมื่อนายปลัดโตได้กล่าวคำพรรณนาให้หลวงพ่อฟังจนหมดสิ้นแล้ว ก็กราบนมัสการลาหลวงพ่อออกจากพระวิหาร แทนที่จะกลับไปอำเภอ เพื่อรายงานเสียก่อนแต่กลับเดินอ้อมไปทางหลังวัด ถึงต้นไม้ใหญ่ต้นหนึ่งก็นั่งพักนั่งคิดอยู่สักพักหนึ่งก็หลับไปครั้นลืมตาตื่นขึ้นต้องสะดุ้งตกใจแทบขาดใจ เห็นเสือนอนหมอบอยู่ตรงหน้า คิดจะหนีก็หนีไม่พ้นคิดจะสู้ก็สู้ไม่ไหว เพราะเอาปืนพิงไว้กับต้นไม้ มีดก็วางไว้ห่างตัว จะลุกขึ้นเอาปืนยิงก็กลัวไม่ทันเสือ ได้แต่นั่งนึกภาวนาถึงหลวงพ่อพระร่วงขอให้ช่วยชีวิตและขอให้ทรงช่วยเปลี่ยนใจเสือให้กลับเป็นใจคน ให้รู้สึกผิดชอบชั่วดีให้จับเสือได้ง่ายๆเหมือนจับลูกแมว เสร็จอธิษฐานแล้วเห็นอาการของเสือไม่มีร่องรอยแห่งความดุร้ายเหลืออยู่เลย มันทำตาริบหรี่คล้ายกลับยอมให้จับโดยดี ปลัดแกล้งขู่สำทับว่าเจ้าเสือร้ายเจ้าฆ่านายสอนใช่หรือไม่? เสือพยักหน้ารับว่าจริงปลัดโตก็ว่า เจ้าเป็นตัวจริงแน่หรือ? เสือก็ก้มหัวให้ดูแผลที่ถูกนายสอนแทงที่หน้าผากแผลยังไม่หายมีรอยเลือดเกรอะกรังติดอยู่ที่หน้าที่ต้นคอ ปลัดก็แน่ใจว่าเป็นตัวจริง เพราะรู้ว่านายสอนแทงเสือถูกที่หน้าผากกับต้นคอ ปลัดก็เอาเชือกผูกคอเสือแล้วจูงเสือไปที่ว่าการอำเภอ เมื่อถึงอำเภอก็ผูกเสือไว้กับเสา แล้วเข้าไปบอกนายอำเภอ นายอำเภอแสงตกใจร้องบอกให้ช่วยกันปิดประตูอย่าให้มันเข้ามาได้ ปลัดบอกว่ามันไม่ดุ ไม่กัดใครๆ ทั้งนั้น เมื่อนายอำเภอแน่ใจแล้วปลัดก็จูงเข้าไปที่ว่าการ แล้วสั่งให้ไปตามยายผ่องทันที นายอำเภอก็เริ่มพิจารณาคดี พูดเสียงดังถามเสือว่าเจ้าฆ่านายสอนตาย แล้วเอาแขนไปกินข้างหนึ่งจริงหรือไม่ เสือก็พยักหน้ารับว่าจริง เจ้ารู้ไหมว่าอาญาแผ่นดินตราเป็นกฎมายไว้สำหรับลงโทษผู้กระทำผิด เสือก็ก้มหัวรับรู้ นายอำเภอบอกว่า เจ้าจงฟังคำตัดสินเดี๋ยวนี้ เมื่อตัดสินต้องยอมรับโทษทันที เสือก้มหัวยอมรับ นายอำเภอก็แจ้งโทษให้ฟัง แล้วตัดสินประหารชีวิตทันที เสือก็ก้มหัวยอมรับโทษตามคำตัดสิน ลงนอนหมอบราบกับพื้นหลับตาเฉย แต่มีน้ำตาไหลซึม นายอำเภอ ปลัดโต และใคร ๆ ที่ยืนมุงดูอยู่แน่นอำเภอ เมื่อเห็นอาการของเสือเช่นนั้น ต่างก็สงสารบางคนน้ำตาไหล ไม่มีใครสักคนที่จะโกรธแค้นเสือ มีแต่สงสารไม่อยากให้นายอำเภอฆ่า เพราะมันแสดงอาการแสนที่จะสงสาร

ฝ่ายยายผ่อง เมื่อฟังคำพิพากษาตัดสินประหารชีวิตเสือ ได้เห็นอาการของมันทุกอย่าง และเห็นมันหมอบลงรับคำตัดสิน พร้อมกับเห็นน้ำตาไหลซึม อาการที่เคยโกรธเสือมาก่อน ก็พลันหายไปจนหมดสิ้น ยายผ่องร้องไห้แล้วพูดกับนายอำเภอว่า ขอชีวิตเสือไว้เถิดอย่าได้ฆ่ามันเลย ฉันไม่ขอเอาเรื่องโกรธแค้นกับมันอีกต่อไปแล้ว และขอให้นายอำเภอยกเสือตัวนี้ให้เป็นลูกของฉันแทนลูกที่ตายไปแล้ว นายอำเภอแสงกับปลัดโต ซึ่งมีความสงสารมันเหมือนกับคนอื่นๆ เมื่อได้ฟังคำขอร้องของยายผ่องเช่นนั้นก็รีบฉวยโอกาสตัดสินใหม่ทันที บอกกับเสือว่า จงฟังคำตัดสินใหม่ เสือก็ผงกหัวยอมรับฟัง นายอำเภอตัดสินว่า เมื่อเจ้ายอมรับผิดโดยดีแล้ว ก็จะยกเว้นโทษประหารให้ แต่เจ้าต้องเป็นลูกของยายผ่อง และต้องรับเลี้ยงดูแกแทนลูกชายที่ตายไป เสือก็ลุกขึ้นยืน พร้อมกับพยักหน้าอยู่หลายครั้ง เมื่อเสร็จสิ้นการชำระคดีแปลกประหลาดแล้ว นายอำเภอก็สั่งปิดศาลทันที

ตั้งแต่ยายผ่องได้เสือมาเป็นลูกแทนนายสอนแล้ว ก็มีความสุขยิ่งกว่าเดิมหลายเท่า เพราะเสือมิได้อยู่เฉยๆ เข้าป่าหาอาหาร กัดเอาหมูบ้าง เอาเก้งบ้าง กวางบ้าง และจับสัตว์อื่นๆ บ้าง เอามาให้ยายผ่องแม่ที่รักของมันอยู่เป็นนิจ แกก็แล่เนื้อกินบ้าง เอาเนื้อสดเนื้อแห้งขายชาวบ้านร้านค้าบ้างมิได้ขาด ยายผ่องตั้งชื่อเสือว่าสอนแทนลูกที่ตาย ในละแวกบ้านย่านนั้นไม่มีขโมยเลย แต่ก่อนหน้าเสือมาอยู่ ข้าวของเป็ดไก่ ไร่ผักมักจะหายกันบ่อยๆ ถ้าวันไหนคืนไหนเสือไม่เข้าป่า มันจะส่งเสียงร้องคำรามดังไปไกล ทำให้เกิดความหวาดกลัวแก่เจ้าพวกหัวขโมยไม่กล้าย่างกรายเข้าไป ชาวบ้านร้านตลาดพลอยอยู่เย็นเป็นสุขไปด้วย

วันหนึ่งเสือเข้าป่าแล้วหายไปถึงสามวันยังไม่กลับ ทำให้ยายร้องไห้คิดถึงไม่เป็นอันกินอันนอน ความทราบไปถึงนายอำเภอกับปลัด ทั้งสองคนรีบมาเยี่ยมทันที นายอำเภอขอให้ปลัดช่วยตามเสืออีกครั้งเพื่อช่วยชีวิตยาย ปลัดโตก็ออกเดินทางไปเพียงคนเดียว เพราะถือว่าไม่มีอันตรายใดๆจากสัตว์ แล้วไปพบคนกลุ่มหนึ่งกำลังล่าสัตว์อยู่ในป่า ปลัดโตเห็นคนกลุ่มนั้นก็จำได้ว่าเป็นพวกเดียวกันทั้งนั้น ต่างก็สนทนากันอยู่สักพักหนึ่ง ชายกลุ่มนั้นถามปลัดโตว่ามาทำไมในป่าคนเดียว ปลัดตอบว่ามาตามเสือ ชายกลุ่มนั้นบอกว่าพวกเขากำลังไล่ล้อมยิงเสืออยู่เหมือนกัน ปลัดถามว่าเสือมีลักษณะอย่างไร เมื่อได้รับคำตอบแล้ว ปลัดบอกว่าเป็นเสือตัวเดียวกันกับที่ตนกำลังตามหาและขอร้องมิให้ยิง ชายกลุ่มนั้นบอกว่าตามล่ามันมาสามวันแล้ว เพราะเสือตัวนี้ดุร้ายมาก เป็นอันว่าชายกลุ่มนั้นรับคำว่าไม่ล่าเสือตัวนี้อีก อีกสักครู่หนึ่งเขาเหล่านั้นเห็นเสือวิ่งลัดพุ่มไม้อยู่ข้างหน้า ปลัดก็ออกตามตะโกนเรียกชื่อมันอย่างดัง บอกกับเสือว่าให้รีบกลับบ้านโดยเร็ว เพราะยายผ่องเสียใจมากกำลังรออยู่ที่บ้านไม่ต้องกลัวใครยิงอีกแล้ว สักครู่ใหญ่เสือก็มาถึงตรงไปหายายเห็นแกเป็นลม มันก็หมอบเอาคางเชยที่เท้า ยายผ่องได้สติฟื้นขึ้นมองเห็นเสือก็ดีใจเอามือลูบหัวแล้วถามมัน ปลัดก็เล่าเรื่องที่โดนนักล่าสัตว์คอยดักยิงมันต้องหนีเตลิดเข้าป่าลึกเพื่อเอาตัวรอด มิเช่นนั้นก็ถูกยิงตายแน่

เสืออยู่กับยายผ่องประมาณเจ็ดปียายก็ถึงแก่กรรม เมื่อมันเห็นยายแม่ของมันเป็นลมตายเสียแล้ว มันก็ส่งเสียงร้องไม่หยุด เมื่อครบสามวันแล้วจึงช่วยกันเผา จัดทำเชิงตะกอนเตี้ยๆ ขนเอาฟืนมากมายมาเผาศพ เป็นกองไฟใหญ่ เผากันจริงๆ ใครมีฟืนเท่าไรก็เผาจนหมด ในระหว่างไฟกำลังโหมลุกเต็มที่อยู่นั้น เสือซึ่งมีอาการหงอยเหงาเศร้าซึมมาหลายวันแล้ว น้ำตาก็ไหลเป็นทาง มันจะนึกอย่างไรไม่ทราบ ก็ออกวิ่งวนไปรอบๆกองไฟไม่รู้ว่ากี่รอบ ส่งเสียงร้องอยู่เรื่อย วิ่งไปร้องไป และขณะร้องคร่ำครวญอยู่นั้น ได้กระโจนเข้ากองไฟที่กำลังลุกโชติช่วง ถูกไฟเผาดิ้นทุรนทุรายอยู่ครู่หนึ่งก็ตายตามแม่ที่รักไป ยอมพลีชีพบูชาแม่ด้วยชีวิต ทำให้คนตกใจส่งเสียงร้องด้วยความหวาดเสียวและสงสาร

7 วันผ่านไป การเผาศพระหว่างแม่ผู้เป็นมนุษย์กับลูกผู้เป็นสัตว์ ชาวบ้านรวมทั้งนายอำเภอแสงกับปลัดโตปรึกษากันว่าจะสร้างศาลให้เสือ ผู้มีความจงรักภักดีต่อแม่เฒ่าผ่อง ถือว่าเป็นสัตว์พิเศษกว่าสัตว์ทั้งหลาย เพราะร่างกายกับชีวิตเท่านั้นที่เป็นเสือ แต่ดวงจิตสูงส่งเป็นอัจฉริยจิต สถิตด้วยแสงธรรม โดยในการสร้างศาลเพื่อประดิษฐานรูปเสือนั้น ผู้คนได้สละทรัพย์สละแรงงานและมาร่วมแรงร่วมใจกันเป็นจำนวนมาก โดยทำการสร้างศาลใกล้ๆบริเวณหน้าวัดมหรรณพาราม โดยเอากระดูกเสือบรรจุในแท่นปั้นรูปประดิษฐานบนแท่นอย่างสง่าน่าเกรงขาม และอัญเชิญดวงวิญญาณเสือขอให้เป็นเทพเจ้าสิงสถิต ณ ศาลวิมานทองแห่งนี้ตลอดกัลป์เป็นนิรันดร ขอให้ปกปักรักษาประชาราษฎร์ให้อยู่ร่มเย็นเป็นสุข ทำมาหากินซื้อง่ายขายคล่อง เจริญสุขทุกทิวาราตรี เมื่อฉลองเสร็จแล้วติดแผ่นป้ายไว้ที่หน้าศาลจารึกชื่อว่า "ศาลเจ้าพ่อเสือ"

อ้างอิงจาก:
1. http://www.sianpra.net/

ตำนานแบบจีน

ภาพจากเว็บไซด์ http://www.siamamulet.net/


ตำนานพระเอี่ยนเทียนส่งเต่ (玄天上帝) เอี่ยนเทียนส่งเต่ (玄天上帝) เดิมมาจากคำว่า เอี่ยนบู๊ไต่เต่ (玄武大帝) ซึ่งคำว่าเอี่ยนบู๊ (玄武) ก็คือกลุ่มดาวเต่างูที่อยู่ประจำด้านทิศเหนือ เอี่ยนบู๊ไต่เต่ (玄武大帝) จึงหมายถึงเทพเจ้าแห่งกลุ่มดาวเหนือนั่นเอง

นับแต่โบราณกาล ชาวจีนได้แบ่งท้องฟ้าเป็น 28 เขต เกิดเป็น 28 กลุ่มดาว หรือ ยี่จับโป๊ยแชสิ่ว โดยจัดเป็น 4 กลุ่มตามทิศทั้งสี่คือ ตะวันออก ตะวันตก ใต้ และ เหนือ ซึ่งแต่ละกลุ่มก็จะมี 7 ดาว ซึ่ง 4 กลุ่มนี้ต่างมีชื่อเรียกได้แก่ ทิศตะวันออก เรียก แชเล้ง (青龍) หรือมังกรเขียว ทิศตะวันตก เรียก แป้ะฮ่อ (白虎) หรือ เสือขาว ทิศใต้เรียก จูเฉียก (朱雀) หรือหงส์แดง และ ทิศเหนือคือเอี่ยนบู้玄武(龜蛇)หรือ เต่ากับงู รวมเรียกว่า สัตว์พิธีการทั้งสี่ โดยกลุ่มดาวเอี่ยนบู้ทางทิศเหนือจะมีดาวอยู่ 7 ดวง ซึ่งเรียกว่า กลุ่มดาวเหนือหรือปักเต้าแช (北斗星) ได้แก่ ดาวเต้า (斗星), ดาวงู้ (牛星), ดาวนึ้ง (女星), ดาวฮื้อ (虛星), ดาวงุ้ย (危星),ดาวสิก (寶星) และดาวเปี๊ย (壁星) เอี่ยนเทียนส่งเต่ ท่านเป็นหนึ่งในเทวดาชั้นสูงของเต๋าซึ่งเป็นที่เคารพ นับถือกันมาก เป็นเทวดาที่มีอิทธิฤทธิ์สูง และมีคาถาอาคมอันยิ่งใหญ่ สามารถควบคุมธาตุต่างๆได้ บางคนกราบไหว้เพื่อขอให้แคล้วคลาดจากไฟ บ้างก็นับถือท่านยังเป็นเทพแห่งสงคราม และคอยปกปักษ์รักษาเขาบู๊ตึ๊ง ในมณฑลหูเป่ย ที่ซึ่งท่านสำเร็จธรรม

หลังจากที่ท่านกลายเป็นเซียน กระเพาะและลำไส้ของท่านได้ดูดซับเอาธาตุต่างๆของโลก ทำให้ลำไส้กลายเป็นปีศาจงู และ กระเพาะกลายเป็นปีศาจเต่า ออกทำร้ายชาวบ้าน และไม่มีผู้ใดสามารถปราบได้ จนในที่สุดเอี่ยนบู๊ได้ลงมาจากสวรรค์เพื่อปราบปีศาจท ั้งสอง โดยท่านขอยืมกระบี่เจ็ดดาวจาก ลื่อโจ้วเซียนซือ หรือลื่อต่งปิ่น หนึ่งในแปดเซียน มาเพื่อใช้ปราบปีศาจจนสุดท้ายสามารถปราบปีศาจได้ หลังจากปราบเสร็จ ท่านไม่อยากนำกลับไปคืนเนื่องจากเห็นพลังของกระบี่เจ็ดดาวดังกล่าว แต่กระบี่จะบินกลับคืนฝักเองเมื่อปล่อย ท่านจึงจับถือกระบี่เจ็ดดาวเอาไว้อย่างแน่นตลอดเวลา ดังนั้นลื่อต่งปิ่นจึงมีแต่ฝัก

ตรงนี้บางประวัติเล่าว่า ท่านได้ลงมาขอความช่วยเหลือจากพระโป้เส้งไต่เต่ (保生大帝) โดยขอยืมกระบี่เจ็ดดาวชิกแชเกี่ยม (七星劍) ไปปราบปีศาจเต่าและปีศาจงู แต่พระโป้เส้งไต่เต่เกรงว่าเมื่อท่านเห็นพลังของกระบ ี่เจ็ดดาวแล้วจะไม่คืน องค์เอี่ยนเทียนจึงมอบ 36 แม่ทัพสวรรค์เป็นสิ่งประกันไว้ กระทั่งท่านได้กระบี่เจ็ดดาวไปต่อสู้กับปีศาจงูและปี ศาจเต่า แต่เนื่องด้วยปีศาจทั้งสองมีอิทธิฤทธิ์สูงเนื่องด้วย เกิดจากตัวท่าน จึงฆ่าไม่ตาย แถมยังเปลี่ยนรูปเมื่อโดนฟันด้วยกระบี่เจ็ดดาว องค์เอี่ยนเทียนส่งเต่จึงขึ้นเหยียบบนปีศาจทั้งสอง แล้วใช้พลังทั้งหมดรวมกับพลังของกระบี่เจ็ดดาวสยบปีศาจทั้งสอง มือของท่านจึงจับกระบี่ไว้อย่างแน่น จึงไม่สามารถส่งกลับไปให้พระโป้เส้งไต่เต่ ดังนั้น 36 แม่ทัพสวรรค์จึงอยู่ภายใต้บัญชาของพระโป้เส้งไต่เต่ สุดท้ายเต่าและงูก็ได้กลายเป็นแม่ทัพเทวดาด้วยเอี่ยนบู๊ไต่เต่ มีรูปลักษณะส่วนใหญ่จะแต่งกายในชุดนักรบ มือซ้ายทำนิ้วลักษณะแสดงถึงการสำเร็จธรรม ส่วนมือขวาถือกระบี่เจ็ดดาว

องค์เอี่ยนเทียนซ่งเต่ มักจะนั่งอยู่บนบัลลังก์เท้าเปล่า ซึ่งเท้าขวาเหยียบงูและเท้าซ้ายเหยียบเต่า

玄天上帝 เอี่ยนเทียนส่งเต่ และพระนามอื่นที่เรียก จินบู้ไต่เต่ (真武大帝), เอี่ยนบู้ไต่เต่ (玄武大帝), เอี่ยนเทียนไต่เต่ (玄天大帝), ปักเก็กไต่เต่ (北極大帝), ปักเก็กจินบู้ไต่เต่ (北極真武大帝), ปักเก็กเอี่ยนเทียนส่งเต่ (北極玄天上帝), ส่งเต่กง (上帝公), ส่งเต่อี๋ย (上帝爺), เต่เอี๋ยกง (帝爺公)เ อี่ยนบู้เต่ (玄武帝), จินบู้เต่ (真武帝), หง่วนบู้ซิ้ง (元武神), หง่วนเต่ (元帝), เสี่ยวส่งเต่ (小上帝等), จินบู้ไต่เจียงกุน (真武大將軍), หง่วนเทียนส่งเต่ (元天上帝), ไคเทียนไต่เต่ (開天大帝), ไคเทียนเอี่ยมเต่ (開天炎帝), ไคเทียนจินเต่ (開天真帝), จุ้ยเชียงส่งเต่ (水長上帝), จินหยูไต่เต่ (真如大帝), ปักเก็กอิ่วเสี่ยจินกุน (北極佑聖真君), ปักเก็กเสี่ยซิ้งกุน (北極聖神君), อิ่วเสี่ยจินบู๊เอี่ยนเทียนส่งเต่จงเกี๊ยบจี่โค่วเทียนจุน (佑聖真武玄天上帝終劫濟苦天尊), ปักเก็กจินบู๊เอี่ยนเทียนซ่งเต่ตั๋งม้อไต้เทียนจุน (北極真武玄天上帝蕩魔大天尊)

อีกตำนานของพระจินบู๊ไต่เต่ (真武大帝) กล่าวว่า จินบู๊ไต่เต่ ได้มายังเขาบู๊ตึ๊งตั้งแต่ยังเป็นชายหนุ่ม และได้ศึกษาฝึกฝนธรรมที่นี่เป็นเวลา 42 ปี ฝ่าฟันอุปสรรคอันตรายต่างๆนานาด้วยความยากลำบาก และท่านได้อาศัยอยู่ที่เขาบู๊ตึ๊งเพื่อกำจัดเหล่าปีศ าจและช่วยเหลือผู้คนผู้คนนับถือท่านเป็นเทพเจ้าผู้ทร งอิทธิฤทธิ์อันประเสริฐ

อ้างอิงจาก:


สถานที่ตั้ง

ภาพแผนที่จากเว็บไซด์ http://www.geocities.com/sanjaoporsua


ศาลเจ้าพ่อเสือตั้งอยู่ที่ เลขที่ 468 ถนนตะนาว ใกล้ๆกับเสาชิงช้า



วัตถุมงคล

Under Construction

รุ่นฉลอง125ปี ศาลเจ้าพ่อเสือ (เนื้อทองคำ)
ภาพจากเว็บไซด์
http://www.amulet2u.com





เหรียญหล่อเนื้อทองคำศาลเจ้าพ่อเสือ พระนคร รุ่นบูรณะศาล พ.ศ. 2545
ภาพจากเว็บไซด์ http://www.siamamulet.net/